ทำความรู้จักหมอผี

ทำความรู้จักหมอผี กูรูทางจิตวิญญาณที่ยังมีบทบาทอย่างมาก

ทำความรู้จักหมอผี กูรูทางจิตวิญญาณที่ยังมีบทบาทอย่างมาก

ทำความรู้จักหมอผี กูรูทางจิตวิญญาณ ที่มีบทบาทอย่างมากใน ประเทศอินโดนิเซีย “คนที่ผมช่วยจะชนะการเลือกตั้งอย่างแน่นอน” กิ กุซูโมะ กล่าวผ่านควันธูป ที่ลอยคละคลุ้งอยู่ภายในที่ทำงานของเขา ซึ่งเป็นอาคาร 2 ชั้นที่ทาด้วยสีแดงภายนอก ตั้งอยู่ในเขตชานกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

ภายในห้องตกแต่งด้วยดาบ รูปปั้นหินอ่อน และ หน้ากากไม้

เขานั่งอยู่ในท่าขัดสมาธิ หลับตา วาดมือเป็นวงกลมไปมา เสียงท่องบทสวดของเขาแผ่วเบาจนแทบไม่ได้ยิน

กุซูโมะ เป็นหมอผีเลื่องชื่อ ผู้โฆษณาตัวเองว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน “การแพทย์แผนโบราณ, พลังทางจิตวิญญาณ และการสะกดจิต”

ในทุก ๆ วัน ลูกค้าจะมาหาเขาเพื่อขอความช่วยเหลือ ตั้งแต่การตัดสินใจเลือกวันที่ดีที่สุดในการปิดข้อตกลงทางธุรกิจ ไปจนถึงการทำนายว่าชีวิตแต่งงานจะลงเอยด้วยการหย่าร้างหรือไม่

แต่ทุก 5 ปี เมื่อเข้าสู่ฤดูเลือกตั้ง บรรดานักการเมืองจะมาเคาะประตูบ้านของเขา เพื่อขอคำแนะนำทางจิตวิญญาณ และให้ทำนายโชคชะตาทางการเมือง

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาวอินโดนีเซียกว่า 200 ล้านคน จะไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งวันที่ 14 ก.พ. นี้ เพื่อเลือกประธานาธิบดี รวมถึงสมาชิกสภานิติบัญญัติทั้งในระดับชาติและระดับภูมิภาค

กุซูโมะ กล่าวว่า หลายเดือนก่อนถึงวันเลือกตั้ง ถือเป็นช่วงเวลาที่หมอผีทั่วทั้งอินโดนีเซียยุ่งมาก

ทำความรู้จักหมอผี

ทำความรู้จักหมอผี ที่ประเทศอินโดนีเซีย ที่กำลังจะมีบทบาท

แต่บทบาทของหมอผี หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ดูคุน” (dukuns) กลับกลายเป็นประเด็นที่ก่อให้เกิดข้อถกเถียงและเกิดการแบ่งแยกทางความคิด ชนพื้นเมืองและชุมชนดั้งเดิมบางแห่งเชื่อว่าหมอผีมีบทบาทสำคัญในการรักษา ปกป้อง และผสานความสมัครสมานสามัคคีกับโลกแห่งวิญญาณ

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ “หมอไล่ฝน” จะถูกว่าจ้างให้ไปประกอบพิธีปัดเป่าสภาพอากาศอันเลวร้ายในการจัดงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ เช่น งานแต่งงานหรือคอนเสิร์ต อย่างที่เห็นว่ามีหมอผีรายหนึ่งไปปรากฏตัวที่งานแข่งขันรถจักรยานยนต์ทางเรียบชิงแชมป์โลก หรือโมโตจีพี (MotoGP Grand Prix) ปี 2022 ที่เกาะลอมบอก ด้วย

แต่ชาวอินโดนีเซียจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่กลับกังขาในประเด็นนี้

คินาสติ รอมฎอนตี พนักงานด้านการตลาดวัย 32 ปีจากกรุงจาการ์ตา บอกว่า งานของหมอผี ซึ่งรวมถึงงานที่หมอผีทำให้นักการเมืองด้วย “ดูเหมือนเป็นการหลอกลวง”

“ฉันไม่เชื่อเรื่องหมอผี หรือผู้นำทางจิตวิญญาณเลย เพราะหลายคนบอกว่าพวกเขาขอความช่วยเหลือจากหมอผี แต่ยังคงล้มเหลวอยู่ดี มันไม่มีหลักฐานใด ๆ ยืนยันว่าลูกค้าของพวกหมอผีชนะจริงไหม และถึงแม้พวกเขาจะชนะ มันก็ไม่มีอะไรยืนยันได้ว่าเป็นเพราะหมอผี” เธอกล่าว

ในการสำรวจความคิดเห็นของชาวอินโดนีเซียกว่า 1,000 คน โดย เวลคัม โกลบอล มอนิเตอร์ (Wellcome Global Monitor) เมื่อปี 2020 พบว่า ประชาชน 13% ระบุว่าพวกเขาไว้วางใจหมอแผนโบราณ/หมอชาวบ้าน “มาก” ขณะที่อีก 43% ตอบว่าเชื่อถือ “บ้าง” แต่ประชากรมากกว่า 1 ใน 4 ไม่มีความไว้วางใจหรือไม่เชื่อถือเลย

นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังมีประชากรชาวมุสลิมมากที่สุดในโลก และในช่วงที่ผ่านมาก็ได้เห็นการขยายตัวของอุดมการณ์อิสลามอันเคร่งครัด

การแสวงหาความคุ้มครองและความช่วยเหลือจากสิ่งอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อัลลอฮ์ โดยทั่วไปถือว่าเป็นเรื่องต้องห้ามตามหลักศาสนาอิสลาม

ในการเลือกตั้งทุกครั้ง สภาอูเลมาแห่งอินโดนีเซีย (Indonesian Ulema Council: MUI) ซึ่งเป็นหน่วยงานกึ่งทางการของประเทศด้านกิจการศาสนาอิสลาม เตือนพรรคการเมืองให้แนะนำผู้สมัครไม่ให้ปรึกษาหมอผี

“MUI ออกฟัตวาในปี 2005 ระบุว่า ลัทธิหมอผีถือเป็นฮารอม (haram – เรื่องต้องห้าม) การทำนายอนาคตผ่านตัวกลางของญิน (Jinn) ถือเป็นฮารอม” โชลิล นาฟิส ประธานสภาอูลามา โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ (ทวิตเตอร์เดิม) ในช่วงเริ่มต้นของการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง

กุซูโมะ อ้างว่า เขาใช้ญินซึ่งเป็นวิญญาณในตำนานอาหรับและมุสลิม เพื่อช่วยให้ลูกค้าของเขาได้รับชัยชนะ

นอกจากนี้ เขายังมอบเครื่องรางให้แก่ลูกค้า เช่น หนอนมีชีวิตที่เก็บได้จากจมูกหมูป่า ซึ่งเขาอ้างว่าช่วยเสริมเสน่ห์ของผู้สมัครได้หากพกพาติดกระเป๋าเอาไว้

เครื่องรางของขลัง เช่น การใช้ญิน ถือว่าเป็นสิ่งต้องห้ามในศาสนาอิสลามเช่นกัน

กุซูโมะ บอกว่า เขาให้คำแนะนำแก่นักการเมืองหลายสิบคนในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา และให้คำปรึกษาแก่ “ผู้สมัครจากทั่วอินโดนีเซีย” ก่อนวันเลือกตั้ง

แต่ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่เดินทางไปพบหมอผีอาจกลัวปฏิกิริยาตอบรับจากบรรดาผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

“พวกเขา โดยเฉพาะบุคคลสาธารณะที่ต้องการลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง จะมาราวตี 2 หรือตี 3 เพราะไม่อยากให้ใครเห็น พวกเขาจะสวมชุดอำพรางตัวทุกชนิด เช่นหน้ากาก” กุซูโมะ บอกกับบีบีซี และปฏิเสธจะเปิดเผยรายชื่อลูกค้าของเขา

เนื่องจากการเดินทางมาเยือนตำหนักหมอผีมักเป็นความลับ จึงยากที่จะรู้ได้ว่าการกระทำดังกล่าวแพร่หลายมากน้อยเพียงใดในหมู่นักการเมือง

กุซูโมะ ไม่บอกบีบีซีว่าเขาคิดค่าบริการเท่าไร แม้ว่าหมอผีผู้นี้ ซึ่งประกอบอาชีพเป็นนักแสดงด้วย เคยเปิดเผยต่อสาธารณะเกี่ยวกับบ้านหลังใหญ่ของเขาและความหลงใหลในรถยนต์หรูก็ตาม

คำกล่าวถึงเกี่ยวกับการทำความรู้จักหมอผี ที่ดีที่สุดในปัจจุบัน

บัดฮี มูนาวาร์ รัคมาน ผู้อำนวยการศูนย์พารามาดินาเพื่อศาสนาและปรัชญา (Paramadina Center for Religion and Philosophy) กล่าวว่า ในอินโดนีเซีย ความเชื่อในท้องถิ่นมักผสมผสานกับคำสอนทางศาสนา ส่งผลให้การปฏิบัติกิจลึกลับแบบดั้งเดิมอยู่ร่วมกับศรัทธาในศาสนาอิสลาม

หนึ่งในลัทธิความเชื่อที่โดดเด่นที่สุดอย่างหนึ่งคือ เกอยาเวน (Kejawen) ซึ่งเป็นแนวความเชื่อที่ผสมผสานโดยรวมองค์ประกอบของลัทธิวิญญาณนิยมของชาวชวา จักรวาลวิทยาฮินดู-พุทธ เวทมนตร์ และศาสนาอิสลาม เข้าด้วยกัน

คำว่า “เกอยาเวน” มาจากจาวา หรือเกาะชวา ซึ่งเป็นเกาะที่มีประชากรมากที่สุดในอินโดนีเซีย โดยมีประชากรมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ

ประธานาธิบดีอินโดนีเซียเกือบทุกคนมาจากเกาะชวา ซึ่งเชื่อกันอย่างกว้างขวางว่าพวกเขาทำพิธีกรรมบางอย่างจากเกอยาเวน ถึงแม้เป็นชาวมุสลิมก็ตาม

มีเรื่องราวของ ซูการ์โน ประธานาธิบดีคนแรก ว่าเขาไปนั่งสมาธิในป่าศักดิ์สิทธิ์ และประธานาธิบดีซูฮาร์โต ผู้สืบทอดตำแหน่งของเขา ว่าได้อาบน้ำในแม่น้ำแห่งหนึ่งเพื่อชำระจิตวิญญาณให้บริสุทธิ์

หนึ่งปีหลังเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในวงกว้าง ซึ่งทำให้ระบอบเผด็จการของซูฮาร์โตสิ้นสุดลง อินโดนีเซียจัดการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยเป็นครั้งแรกในปี 1999

เมื่อระบอบประชาธิปไตยเริ่มเป็นที่ยอมรับมากขึ้น ผู้สมัครก็ได้เรียนรู้คุณค่าของการสร้างบุคลิกภาพต่อสาธารณะเพื่อดึงดูดใจผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

“แต่เราไม่ได้เปลี่ยนจากแบบดั้งเดิมไปสู่แบบสมัยใหม่อย่างสิ้นเชิง เรายังคงผสมผสานทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน” รัคมาน กล่าว

นักการเมืองบางคนเชื่อว่า “อะไรก็ตามที่ใช้งานได้ และคำนวณได้ อย่างที่ปรึกษาทางการเมืองนั้น ไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ” และ “พวกเขาต้องการบางอย่างที่พวกเขาคิดว่าแน่นอนกว่า”

นักวิชาการรายเดิมกล่าวต่อไปว่า ความเชื่ออย่างแรงกล้าในเรื่องเหนือธรรมชาติสามารถกลายเป็น “ปรากฏการณ์ความคาดหวังสร้างความจริง” (self-fulfilling prophecy) ได้ และหากผู้สมัครทำสำเร็จ พวกเขาจะให้เครดิตโลกแห่งจิตวิญญาณ

อับดุล ฟาตาห์ หมอผีอีกคนหนึ่งจากสมาคมหมอผีนูซันทารา (Nusantara Shaman Association) ในเมืองบันยูวันงี ยอมรับว่า แม้จะทำพิธีกรรม แต่นักการเมืองหลายคนที่เป็นลูกค้าของเขา ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้ง

“แต่ผมคิดว่านักการเมืองยังต้องการผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิญญาณเพื่อชี้แนะและให้กำลังใจหากประสบความล้มเหลว” เขากล่าว

ริฟาย ยังกล่าวอีกว่า เขาพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิญญาณเพื่อรักษาความสงบภายในเป็นหลัก ท่ามกลางการแข่งขันการเลือกตั้งในท้องถิ่น

เมื่อถามว่าพร้อมจะแพ้หรือไม่ เขาตอบว่า “แน่นอน ในฐานะนักสู้ตัวจริงเราต้องพร้อมจะชนะและแพ้ ถ้าไม่พร้อม ก็อย่าเสียเวลาเข้าสู่โลกการเมืองเลย”

เครดิตเว็บไซต์ : ufarich777

อ่านวิธีทำอาหารอื่นๆ ติดตามได้ที่ : emulesecurity